› ฟอรั่ม › ราคากลางและค่า K › ดัชนีราคาเพื่อใช้ประกอบการคำนวณค่า K ประจำเดือนธันวาคม 2566
- This topic is empty.
-
ผู้เขียนข้อความ
-
ธันวาคม 19, 2023 เวลา 3:56 am #1226
admin
Keymasterดัชนีราคาเพื่อใช้ประกอบการคำนวณค่า K ประจำเดือนธันวาคม 2566
ดัชนีราคา
มค.
กพ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.M ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง(ไม่รวมเหล็กและซิเมนต์) 290.5291.0290.9291.1290.9291.3291.0291.8291.8291.7291.2291.1S ดัชนีราคาเหล็ก 225.5224.6223.7220.0221.4230.1238.5240.8237.4228.4228.4219.0C ดัชนีราคาซิเมนต์ 188.9188.5188.5188.5189.7189.7190.3190.3190.3189.8189.9189.9G ดัชนีราคาเหล็กแผ่นเรียบ 357.3357.3357.3354.2354.2354.2354.2354.2354.2354.2354.2349.5I ดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศ 260.5259.9259.7260.8262.3262.1261.9262.6263.4263.5263.0261.2F ดัชนีราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 466.6456.4455.8467.0491.2488.1491.2496.6505.7506.9493.9448.3A ดัชนีราคาแอสฟัลท์ 423.5419.9412.0409.4411.8428.5446.9450.9452.1459.6439.1435.8E ดัชนีราคาเครื่องจักรกลและบริภัณฑ์ 317.2317.2317.2317.2317.2317.2317.2318.9325.3325.3325.5325.5GIP ดัชนีราคาท่อเหล็กอาบสังกะสี 418.1418.1418.1418.1418.1418.1418.8418.8414.5414.5410.2410.2AC ดัชนีราคาท่อซิเมนต์ใยหิน 152.2152.2152.2152.2152.2152.2152.2152.2152.2152.2152.2152.2PVC ดัชนีราคาท่อ PVC 145.8149.1149.1149.1145.7145.7145.7145.7145.7142.3142.3142.3W ดัชนีราคาสายไฟฟ้า 327.9327.9327.9327.9327.9327.9327.9327.9327.9327.9327.9327.9PE ดัชนีราคาท่อ HYDENSITY POLYETHYLENE 194.7194.7194.7194.7194.7196.4196.4196.4196.4196.4196.4196.4ความรู้เบื้องต้นเรื่องค่า K
ดัชนีเพื่อใช้ประกอบการคำนวณหา Escalation Factors ( K )
สำหรับสัญญาแบบปรับราคาได้ในการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้าง
“ค่า K” มีบทบาทสำคัญในธุรกิจการก่อสร้างมานาน และทวีความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะจากภาวะค่าเงินบาทลอยตัว การปรับเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการก่อสร้าง สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า จึงได้จัดทำเอกสาร ถาม – ตอบ “ค่า K” เป็นความรู้เบื้องต้นแก่ผู้สนใจ1. ถาม : ESCALATION FACTOR หรือ “ค่า K” คืออะไร
ตอบ : คือ ตัวเลขดัชนีที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของค่างาน ณ ระยะเวลาที่ผู้รับเหมาก่อสร้างเปิดซองประกวดราคาได้ เปรียบเทียบกับระยะเวลาที่ส่งงานในแต่ละงวด โดยมีเงื่อนไขสำคัญ ดังนี้
(1) จะใช้ “ค่า K” ได้เฉพาะในกรณีที่ผู้รับเหมารับงานจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นเท่านั้น
(2) ในการทำสัญญาว่าจ้าง คู่สัญญาจะต้องระบุในสัญญาให้ชัดเจนว่า เป็นสัญญาแบบปรับราคาได้ในการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้าง2. ถาม : “ค่า K” มีความเป็นมาอย่างไร
ตอบ : การนำ “ค่า K” มาใช้ เริ่มจากในช่วงปี 2516 – 2517 เกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ โดยน้ำมันและวัสดุก่อสร้างสำคัญ คือ เหล็กสำเร็จรูปต่างๆ ขาดแคลนและราคาสูงขึ้นมาก ส่งผลกระทบต่อธุรกิจก่อสร้างโดยตรงและรุนแรง ผู้รับเหมาต่างได้รับความเดือดร้อน บางรายหยุดดำเนินการ บางรายละทิ้งงาน เพราะไม่สามารถรับภาระขาดทุนได้ ขณะเดียวกัน ผู้จ้างเหมาก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติให้นำ “ค่า K” มาใช้ เพื่อช่วยเหลือผู้รับเหมาให้ได้รับการชดเชยค่าเสียหาย ทั้งนี้มีคณะอนุกรรมการเป็นผู้กำหนด หลักเกณฑ์ เงื่อนไข สูตร ประเภท และลักษณะงานที่เข้าข่ายสามารถขอรับเงินชดเชยจากรัฐบาลได้ จนถึงปี 2524 รัฐบาลได้ประกาศยกเลิกการใช้ “ค่า K” เนื่องจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2532 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้นำ “ค่า K” มาใช้อีกครั้ง เนื่องจากผลของภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวในอัตราสูง ก่อให้เกิดการลงทุนอย่างมากในธุรกิจหลายสาขา โดยเฉพาะธุรกิจการก่อสร้าง เพื่อรองรับเศรษฐกิจที่ขยายตัว เป็นเหตุให้วัสดุก่อสร้างสำคัญ คือ เหล็กเส้นขาดแคลนและราคาสูงขึ้นมากอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างได้รับความเดือดร้อน รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือโดยมีมติดังกล่าว ให้ใช้ “ค่า K” มาจนถึงปัจจุบัน3. ถาม : องค์ประกอบ “ค่า K” มีอะไรบ้าง
ตอบ : “ค่า K” ประกอบด้วยตัวแปรต่าง ๆ ดังนี้
M = ดัชนีราคาสินค้าวัสดุก่อสร้าง (ไม่รวมเหล็กและซีเมนต์)
S = ดัชนีราคาเหล็ก
C = ดัชนีราคาซีเมนต์
G = ดัชนีราคาเหล็กแผ่นเรียบ
F = ดัชนีราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
A = ดัชนีราคาแอสฟัลท์
E = ดัชนีราคาเครื่องจักรกลและบริภัณฑ์
GIP = ดัชนีราคาท่อเหล็กอาบสังกะสี
AC = ดัชนีราคาท่อซีเมนต์ใยหิน
PVC = ดัชนีราคาท่อ PVC
PE = ดัชนีราคาท่อ HYDENSITY POLYETHYLENE
W = ดัชนีราคาสายไฟฟ้า
I = ดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศ4. ถาม : “ค่า K” นอกจากจะให้ประโยชน์แก่ผู้รับเหมาแล้ว ในส่วนของผู้จ้างเหมาจะได้รับประโยชน์ด้วยหรือไม่ อย่างไร
ตอบ : “ค่า K” ใช้เป็นเครื่องมือช่วยเหลือทั้งผู้รับเหมาและผู้จ้างเหมาไปพร้อมกัน กล่าวคือ ช่วยลดความเสี่ยงของผู้รับเหมา กรณีที่ได้รับความเดือดร้อนจากวัสดุก่อสร้างมีราคาสูงขึ้น โดยให้ได้รับการชดเชยในส่วนของผลต่างราคาวัสดุก่อสร้าง ณ วันที่ประกวดราคาได้ เทียบกับวันส่งมอบงานในแต่ละงวด ขณะเดียวกันผู้จ้างเหมาใช้ “ค่า K” เป็นเครื่องมือป้องกันมิให้ผู้รับเหมาเอาเปรียบ โดยการบวกราคาวัสดุก่อสร้างเผื่อการเปลี่ยนแปลงไว้ล่วงหน้ามากจนเกินไป5. ถาม : งานก่อสร้างประเภทใดบ้าง ที่อยู่ในเงื่อนไขสามารถใช้ “ค่า K”
ตอบ : งานก่อสร้างที่จะสามารถนำ “ค่า K” มาคำนวณเพื่อขอรับเงินชดเชยได้ มี 5 ประเภท โดยมีสูตรที่ใช้คำนวณ 35 สูตร ดังนี้
งานอาคาร 1 สูตร
งานดิน 3 สูตร
งานทาง 7 สูตร
งานชลประทาน 7 สูตร
งานระบบสาธารณูปโภค 17 สูตร
ทั้งนี้ รวมถึงงานปรับปรุงและซ่อมแซมตามประเภทของงานดังกล่าวด้วย6. ถาม : การรับเหมาก่อสร้างงานต่างๆ จะทราบได้อย่างไรว่า ประเภทงานนั้นจะใช้สูตรอะไร และจะขอทราบรายละเอียดของสูตรได้จากที่ไหน
ตอบ : โดยทั่วไปผู้รับเหมาเมื่อรับงานจากหน่วยงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งในสัญญาระบุว่า เป็นสัญญาแบบปรับราคาได้ ในสัญญามักจะระบุสูตรสำหรับประเภทงานนั้นๆ เสมอ อย่างไรก็ตาม หากผู้รับเหมาต้องการทราบรายละเอียดสูตรต่างๆ สามารถสอบถามได้ที่ สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี
7. ถาม : ตัวเลขที่ใช้แทนค่าในสูตรแต่ละประเภทงานก่อสร้าง ได้มาอย่างไร
ตอบ : ตัวเลขที่ใช้แทนค่าในสูตรแต่ละประเภทงานก่อสร้าง คือ ตัวแปรต่าง ๆ รวม 13 รายการ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ “ค่า K” ( ข้อ 3 ) ดัชนีราคาดังกล่าวจัดทำและเผยแพร่เป็นประจำทุกเดือน โดยสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์8. ถาม : ผู้รับเหมาก่อสร้างจะเรียกร้องให้รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยในทุกกรณีได้หรือไม่
ตอบ : แม้ว่าผู้รับเหมาจะทำสัญญากับผู้จ้างเหมา โดยปฏิบัติตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ ประเภท และลักษณะงานตามที่กำหนดไว้ในสัญญาแบบปรับราคาได้ครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่ผู้รับเหมาก็ไม่สามารถเรียกร้องรัฐบาลให้จ่ายเงินชดเชยได้เสมอไป กล่าวคือ จะต้องคำนวณ “ค่า K” โดยใช้สูตรตามประเภทงานก่อสร้าง ณ เดือนที่ส่งมอบงาน เทียบกับ “ค่า K” เดือนที่เปิดซองประกวดราคา ถ้าการเปลี่ยนแปลงของ “ค่า K” แต่ละงวดงานมีค่ามากกว่าร้อยละ 4 (หรือ 1.04) ผู้รับเหมาจึงจะสามารถนำ “ค่า K” ไปเรียกร้องขอรับเงินชดเชยได้ แต่ขณะเดียวกัน หาก “ค่า K” ของแต่ละงวดงานมีค่าน้อยกว่าร้อยละ 4 (หรือ 0.96) ผู้จ้างเหมาก็จะเรียกค่างานคืนจากผู้รับเหมาในส่วนที่ราคาวัสดุก่อสร้างลดลง โดยอาจใช้วิธีการหักเงินค่างานในงวดถัดไป หรือหักเงินจากหลักประกันสัญญาแล้วแต่กรณี
9. ถาม : การคำนวณค่า K ทำได้อย่างไร
ตอบ : คำนวณค่า K จากสูตรตามได้ระบุไว้ในสัญญา โดยใช้ตัวเลขของตัวแปร 13 ตัวแปรที่จัดทำโดยกระทรวงพาณิชย์ เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ- กรณีที่มีงานก่อสร้างหลายประเภท รวมอยู่ในสัญญาเดียวกัน จะต้องแยกค่างานก่อสร้างแต่ละประเภทให้ชัดเจนตามลักษณะงานนั้น และให้สอดคล้องกับสูตรที่กำหนดไว้
- การคำนวณหาค่า K กำหนดให้ใช้ทศนิยม 3 ตำแหน่ง ทุกขั้นตอนโดยไม่มีการปัดเศษ และกำหนดให้ทำเลขสัมพันธ์ (เปรียบเทียบ) ให้เป็นผลสำเร็จก่อน แล้วจึงนำผลลัพธ์ไปคูณกับตัวเลขคงที่หน้าเลขสัมพันธ์นั้น ( ดังตัวอย่าง )
- ให้พิจารณาเงินเพิ่ม หรือลดราคาค่างวดงานจากราคาที่ผู้รับจ้างทำสัญญาตกลงกับผู้ว่าจ้าง เมื่อค่า K ตามสูตรสำหรับงานก่อสร้างนั้น ๆ ในเดือนที่ส่งมอบงานมีค่าเปลี่ยนแปลงไปจากค่า K ในเดือนเปิดซองประกวดราคามากกว่า 4 % ขึ้นไป โดยนำเฉพาะส่วนที่เกิน 4% มาคำนวณปรับเพิ่ม หรือลดค่างานแล้วแต่กรณี (โดยไม่คิด 4% แรกให้)
- ในกรณีที่ผู้รับจ้างไม่สามารถทำการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาในสัญญา โดยเป็นความผิดของผู้รับจ้าง ค่า K ตามสูตรต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการคำนวณค่างานให้ใช้ค่า K ของเดือนสุดท้ายตามอายุสัญญา หรือค่า K ของเดือนที่ส่งมอบงานจริง แล้วแต่ว่าค่า K ตัวใดจะมีค่าน้อยกว่า
- การจ่ายเงินแต่ละงวด ให้จ่ายค่างานที่ผู้รับจ้างทำได้แต่ละงวดตามสัญญาไปก่อน ส่วนค่างานเพิ่ม หรือลดลง จะคำนวณได้ต่อเมื่อทราบดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ซึ่งนำมาคำนวณหาค่า K ของเดือนที่ส่งมอบงานงวดนั้น ๆ เป็นที่แน่นอนแล้ว เมื่อคำนวณเงินเพิ่มได้แล้ว ให้ขอทำความตกลงเรื่องเงินกับสำนักงบประมาณ
ตัวอย่าง การคำนวณเงินชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาปรับราคาได้ (ค่า K)- กำหนดให้ค่า K = 1
- ในกรณีได้รับเงินชดเชย ค่า K ต้องมากกว่า 1.04
- ในกรณีที่ต้องคืนเงินชดเชยค่า K ต้องน้อยกว่า 0.96
งานก่อสร้างอาคารเรียน 1 หลัง มูลค่า 2,570,000.00 บาท
- งวดที่ 1 514,000.- บาท
- งวดที่ 2 385,500.- บาท
- งวดที่ 3 385,500.- บาท
- งวดที่ 4 642,500.- บาท
- งวดที่ 5 (สุดท้าย) 642,500.- บาท
ค่าตัวแปรในเดือนเปิดซองประกวดราคา วันที่ 30 มกราคม 2533
Io = 112.2 , Co = 111.7 , Mo = 126.7 , So = 140.0
สูตรงานอาคาร
K = 0.25 + 0.15 It/Io + 0.10 Ct/Co + 0.40 Mt/Mo + 0.10 St/So
ส่งงานงวดที่ 1 วันที่ 20 กรกฎาคม 2533
ค่าตัวแปรในเดือนที่ส่งมอบงาน It = 115.8 , Ct = 117.6 , Mt = 132.7 , St = 140.8
K = 0.25 + 0.15(115.8/112.2) + 0.10(117.6/111.7) + 0.40(132.7/126.7) + 0.10(140.8/140.0)
= 0.25 + 0.15(1.032) + 0.10 (1.052) + 0.40(1.047) +0.10(1.005)
= 0.25 + 0.154 + 0.105 + 0.418 + 0.100
= 1.027
ค่า K เปลี่ยนแปลงไม่เกิน 4% ไม่ได้รับเงินชดเชย
ส่งงานงวดที่ 2 วันที่ 5 กันยายน 2533
It = 116.7 , Ct = 127.8 , Mt = 135.1 , St = 140.4
K = 0.25 + 0.15(116.7/112.2) + 0.10(127.8/111.7) + 0.40(135.1/126.7) + 0.10(140.4/140.0)
= 0.25 + 0.15(1.040) + 0.10 (1.144) + 0.40(1.066) + 0.10(1.002)
= 0.25 + 0.156 + 0.114 + 0.426 + 0.100
= 1.046
ค่า K เปลี่ยนแปลงเกิน 4% เท่ากับ 1.046 – 1.04 = 0.006
จะได้รับเงินชดเชยเพิ่ม = 0.006 X 385,500 = 2,313.- บาท
ส่งงานงวดที่ 3 วันที่ 20 ตุลาคม 2533
It = 119.0 , Ct = 167.5 , Mt = 137.2 , St = 140.9
K = 0.25 + 0.15(119.0/112.2) + 0.10(167.5/111.7) + 0.40(137.2/126.7) + 0.10(140.9/140.0)
= 0.25 + 0.15(1.060) + 0.10 (1.499) + 0.40(1.082) + 0.10(1.006)
= 0.25 + 0.159 + 0.149 + 0.432 + 0.100
= 1.090
ค่า K เปลี่ยนแปลงเกิน 4% เท่ากับ 1.090 – 1.04 = 0.050
จะได้รับเงินชดเชยเพิ่ม = 0.050 X 385,500 = 19,275.- บาท
ส่งงานงวดที่ 4 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2533
It = 119.5 , Ct = 167.5 , Mt = 137.2 , St = 139.6
K = 0.25 + 0.15(119.5/112.2) + 0.10(167.5/111.7) + 0.40(137.2/126.7) + 0.10(139.6/140.0)
= 0.25 + 0.15(1.065) + 0.10 (1.499) + 0.40(1.082) + 0.10(0.997)
= 0.25 + 0.159 + 0.149 + 0.432 + 0.099
= 1.089
ค่า K เปลี่ยนแปลงเกิน 4% เท่ากับ 1.089 – 1.04 = 0.049
จะได้รับเงินชดเชยเพิ่ม = 0.049 X 642,500 = 31,482.50 บาท
ส่งงานงวดที่ 5 วันที่ 15 มกราคม 2534
It = 119.1 , Ct = 151.7 , Mt = 138.4 , St = 137.1
K = 0.25 + 0.15(119.1/112.2) + 0.10(151.7/111.7) + 0.40(138.4/126.7) + 0.10(137.1/140.0)
= 0.25 + 0.15(1.061) + 0.10 (1.358) + 0.40(1.092) + 0.10(0.979)
= 0.25 + 0.159 + 0.135 + 0.436 + 0.097
= 1.077
ค่า K เปลี่ยนแปลงเกิน 4% เท่ากับ 1.077 – 1.04 = 0.037
ในงวดนี้ส่งงานพร้อมครุภัณฑ์ 4 รายการ เงิน 149,600.- บาท ประกอบด้วย
1. กระดานดำ 8 ชุด 22,400.- บาท
2. โต๊ะม้านั่งครู 8 ชุด 12,000.- บาท
3. โต๊ะม้านั่งนักเรียน 320 ชุด 112,000.- บาท
4. เครื่องดับเพลิง 2 ชุด 3,200.- บาท
รวม 149,600.- บาทดังนั้น จะได้รับเงินชดเชย = (642,500 – 149,600) X 0.037 = 18,237.30 บาท
รวมได้รับเงินชดเชยทั้งสัญญา (5 งวด)= 2,313 + 19,275 + 31,482.50 + 18,237.30
= 71,307.80 บาทกรณีการคืนเงินค่า K
สมมุติการส่งงานในงวดที่ 5 (งวดสุดท้าย 15 มกราคม 2534 ) มีค่าดัชนีชุดต่าง ๆ ดังนี้
It = 107.9 , Ct = 110.5 , Mt = 113.2 , St = 135.2
K = 0.25 + 0.15(107.9/112.2) + 0.10(110.5 /111.7) + 0.40(113.2/126.7) + 0.10(135.2/140.0)
= 0.25 + 0.15(0.961) + 0.10 (0.989) + 0.40(0.893) + 0.10(0.965)
= 0.25 + 0.144 + 0.098 + 0.357 + 0.096
= 0.945
ค่า K เปลี่ยนแปลงต่ำกว่า 4% เท่ากับ 0.96 – 0.945 = 0.015
ในงวดนี้มีค่างานต้องเรียกคืน = (642,500 – 149,600) x 0.015 = 7,393.50 บาท
รวมได้รับเงินชดเชยทั้งสัญญา (5 งวด) = 2,313 + 19,275 + 31,482.50 – 7,393.50
= 45,676.50 บาท10. ถาม : การต่ออายุสัญญางานก่อสร้างจากสัญญาเดิม ผู้รับเหมาจะนำ”ค่า K” มาใช้ในช่วงเวลาที่ต่อสัญญาออกไป เพื่อขอรับเงินชดเชยได้หรือไม่
ตอบ : กรณีที่ผู้รับเหมาไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญา โดยเหตุสุดวิสัย แต่ส่วนราชการผู้ว่าจ้างอนุมัติให้มีการต่อสัญญา และสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาแบบปรับราคาได้ ผู้รับเหมาก็สามารถนำ “ค่า K” มาคำนวณเพื่อขอรับเงินชดเชยในช่วงเวลาที่ต่อสัญญาออกไปได้เช่นกัน11. ถาม : ถ้ารัฐบาลไม่สามารถจ่ายเงินชดเชยให้ผู้รับเหมาได้ทันในปีงบประมาณที่ส่งมอบงาน แต่จะจ่ายให้ในปีงบประมาณถัดไป ผู้รับเหมาจะขอคิดดอกเบี้ยกับรัฐบาลได้หรือไม่
ตอบ : การจ่ายเงินชดเชยให้ผู้รับเหมาในกรณีที่ใช้สัญญาแบบปรับราคาได้นั้น หากรัฐบาลต้องจ่ายเงินชดเชยข้ามปีงบประมาณ ผู้รับเหมาไม่สามารถคิดดอกเบี้ยจากรัฐบาลได้ และเป็นหน้าที่ของผู้รับเหมาที่จะต้องรีบติดต่อขอรับเงินชดเชยจากสำนักงบประมาณ ภายในกำหนด 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ส่งมอบงานงวดสุดท้าย หากพ้นกำหนดนี้ไปแล้วผู้รับเหมาไม่มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องเงินชดเชยค่างานก่อสร้างจากผู้จ้างเหมาได้อีกต่อไป12. ถาม : หากมีปัญหาเกี่ยวกับการคำนวณ “ค่า K” จะสามารถสอบถามได้จากที่ใด
ตอบ : สอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักมาตรฐานงบประมาณ สำนักงบประมาณ ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 02-273-9027
13. ถาม : ถ้าประสงค์จะได้ดัชนีในการคำนวณหา “ค่า K” และขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมจะติดต่อที่ใด
ตอบ : สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการจัดทำดัชนีเพื่อใช้ประกอบในการคำนวณหา “ค่า K” เผยแพร่เป็นประจำทุกเดือน โดยจะเผยแพร่ไม่เกิน 2 วันทำการของเดือนถัดไป และวางจำหน่าย ณ สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า (ห้อง 21203) อาคาร 1 ชั้น 12 สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ 44/100 ถนนนนทบุรี 1 อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี11000 ราคาฉบับละ 5 บาท
ในส่วนภูมิภาคสามารถติดต่อสอบถามหรือขอถ่ายเอกสารได้จากสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่เจ้าหน้าที่ในสำนักงานจะต้องรับรองสำเนาเนื่องจากตัวแปรนี้เป็นเอกสารทางราชการที่ผู้รับเหมาจะต้องนำไปประกอบการยื่นคำร้องขอเงินชดเชยค่าการก่อสร้างหากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อกลุ่มดัชนีการก่อสร้าง สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โทรศัพท์ 02-507 6719 ในวันและเวลาราชการ
-
ผู้เขียนข้อความ
- คุณต้องเข้าสู่ระบบเพื่อตอบกลับกระทู้นี้